เมนู

เถรีคาถา ติกนิบาต


ว่าด้วยคาถาต่าง ๆ ในติกนิบาต


1. อัญญตราสามาเถรีคาถา1


[430] ตั้งแต่ข้าพเจ้าบวชมาแล้ว 25 พรรษา ข้า-
พเจ้าไม่รู้สึกกว่าได้ความสงบจิตในกาลไหน ๆ เลย ข้า-
พเจ้าทำใจให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ จึงไม่ได้ควานสงบใจ
ต่อจากนั้น ข้าพเจ้า ระลึกถึงคำสอนของพระชินเจ้าจึง
ได้ถึงความสังเวช ข้าพเจ้าอันความทุกข์เป็นอันมาก
ถูกต้องแล้ว ยินดีแล้วในความไม่ประมาท บรรลุ
ความสิ้นตัณหาแล้ว ได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธ
เจ้าแล้ว วันนี้เป็นราตรีที่ 7 นับแต่วันที่ข้าพเจ้าทำ
ตัณหาให้แห้งสนิทแล้ว.

จบ อัญญตราสามาเถรีคาถา

อรรถกถาติกนิบาต


1. อรรถกถาอปราสามาเถรีคาถา


ในติกนิบาตมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
คาถาว่า ปณฺณวีสติ วสฺสานิ เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อ
สามาอีกองค์หนึ่ง
แม้พระเถรีชื่อสามาอีกองค์หนึ่งนี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระ
พุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เกิดในกำเนิดกินนร ที่ฝั่งแม่
1. อรรถกถา เป็น อปราสามาเถรีคาถา.

น้ำจันทภาคา กินรีนั้นเที่ยวขวนขวายในการเล่นเพลินอยู่กับเหล่ากินนรในที่
นั้น อยู่มาวันหนึ่งพระศาสดาเสด็จไปในที่นั้นเพื่อทรงปลูกพืชคือกุศลแก่กินรี
แม้นั้น เสด็จจงกรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ กินรีนั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ร่าเริง
ยินดี ถือเอาดอกไม้ช้างน้าวไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วบูชาพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าด้วยดอกไม้เหล่านั้น ด้วยบุญกรรมนั้นกินรีนั้นท่องเที่ยวอยู่โนเทวโลก
และมนุษยโลก ในพุทธุปปาทกาลนี้ เกิดในเรือนตระกูลในกรุงโกสัมพี เจริญ
วัยแล้วเป็นสหายของนางสามาวดี เวลานางสามาวดีนั้นตาย เกิดความสังเวช
บวช 25 พรรษายังไม่ได้สมาธิจิต ในเวลาแก้ได้โอวาทของพระสุคตแล้ว
เจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เพราะเหตุ
นั้นท่านจึงกล่าวได้ในอปทานว่า1
ข้าพเจ้าเป็นกินรีอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ครั้ง
นั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระนราสภ ผู้เป็นเทพของทวยเทพ
กำลังเสด็จจงกรมอยู่ จึงได้เลือกเก็บดอกไม้ช้างน้าวมา
ถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระมหาวีรสัม-
พุทธเจ้าพระนามวิปัสสีผู้เป็นนายกของโลก ทรงรับ
ดอกไม้ช้างน้าวซึ่งมีกลิ่นเหมือนทิพย์ทรงดมแล้ว พระ
มหาวีระ ทรงดม เมื่อข้าพเจ้ากำลังเพ่งดูอยู่ในกาลนั้น
ข้าพเจ้าประคองอัญชลี ถวายบังคมพระพุทธองค์ผู้สูง
สุดกว่าสัตว์สองเท้า ทำจิตองตนให้เลื่อมใส ต่อนั้น
ก็เดินขึ้นภูเขาไป ในกัปที่ 91 แต่ภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้า
ได้ถวายดอกไม่ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายดอกไม้
นั้น ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระ
พุทธเจ้า.

1. ขุ. 33/ข้อ 152 สลฬปุปผิกาเถรีอปทาน.

ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติ
คำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้วพิจารณาการปฏิบัติของตน ได้กล่าวคาถาเหล่านี้เป็น
อุทานว่า
ตั้งแต่ข้าพเจ้าบวชมาแล้ว 25 พรรษา ข้าพ-
เจ้าไม่รู้สึกว่าได้ความสงบจิตในกาลไหน ๆ เลย ข้าพ-
เจ้าทำใจให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ จึงไม่ได้ความสงบใจ
ต่อจากนั้น ข้าพเจ้าระลึกถึงคำสอนของพระชินเจ้า
ได้ จึงถึงความสังเวช ข้าพเจ้าอันความทุกข์เป็นอัน
มากถูกต้องแล้ว ยินดีแล้วในความไม่ประมาท บรรลุ
ความสิ้นตัณหาแล้ว ได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธ
เจ้าแล้ว วันนี้เป็นราตรีที่ 7 นับแต่วันที่ข้าพเจ้าทำ
ตัณหาให้แห้งสนิทแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตสฺส สมํ ได้แก่ความเข้าไปสงบแห่ง
จิต ความว่า มรรคสมาธิและผลสมาธิที่เกิดแต่ความสงบใจ. บทว่า ตโต ได้
แก่ จากความเป็นผู้ไม่สามารถยังอำนาจจิตให้เป็นไป. บทว่า สํเวคมาปาทึ
ความว่า แม้เมื่อพระศาสดายังดำรงพระชนม์อยู่ ยังไม่อาจทำกิจของบรรพชิต
ให้ถึงที่สุดได้ ภายหลังจักให้ถึงได้อย่างไร ข้าพเจ้าถึงความสังเวช คือความ
สะดุ้งเพราะญาณ ดังว่ามานี้. บทว่า สริตฺวา ชินสาสนํ ได้แก่ระลึกถึง
โอวาทของพระศาสดามีอุปมาด้วยเต่าตาบอดเป็นต้น. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว
แล้วแล.
จบ อรรถกถาอปราสามาเถรีคาถา

2. อุตตมาเถรีคาถา


[431] ข้าพเจ้าทำใจให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ จึงไม่ได้
ความสงบใจ ต้องเข้าออกจากวิหาร 4 ครั้ง 5 ครั้ง
ข้าพเจ้าได้เข้าไปหาภิกษุ ผู้มีวาจาที่ข้าพเจ้าพึงเชื่อถือ
ได้ ภิกษุณีนั้นได้แสดงธรรม คือขันธ์ อายตนะ และ
ธาตุ แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังธรรมของภิกษุณีนั้น ได้
ปฏิบัติตามที่ท่านพร่ำสอนข้าพเจ้า เป็นผู้เอิบอิ่มด้วย
ปีติสุข นั่งโดยบัลลังก์เดียวตลอด 7 วัน ในวันที่ 8
ข้าพเจ้าทำลายกองแห่งความมืดแล้ว จึงเหยียดเท้าออก.

จบ อุตตมาเถรีคาถา

2. อรรถกถาอุตตมาเถรีคาถา


คาถาว่า จตุกฺขตฺตุํ ปญฺจกฺขตตุํ เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรี
ชื่ออุตตมา.
แม้พระเถรีชื่ออุตตมาองค์นี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เกิดเป็นฆรทาสีในเรือนตระกูลของ
กุฎุมพีคนหนึ่ง ในพระนครพันธุมดี นางเจริญวัยแล้ว ทำงานขวนขวายช่วย
เหลือตายายของตนเลี้ยงชีพ สมัยนั้น พระเจ้าพันธุมราชทรงรักษาอุโบสถในวัน
เพ็ญ เวลาก่อนอาหารทรงให้ทาน เวลาหลังอาหารเสด็จไปฟังธรรม ครั้งนั้น